รายวิชาวิชาศึกษาทั่วไป

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายวิชาวิชาศึกษาทั่วไป หรือ General Education  เป็นหมวดวิชาพื้นฐานที่หลายๆ มหาวิทยาลัยบรรจุเป็นวิชาบังคับให้นิสิตนักศึกษาต้องเรียนไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิตกำหนดให้ทุกคณะเรียนจากส่วนกลางทั้งหมด 16 หน่วยกิต และเรียนตามที่หลักสูตรกำหนดไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต รวมเป็นไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยจากนักศึกษาใหม่ (ปี1) จะต้องเข้าเรียนกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือที่เด็กมหิดลเรียกว่า MUGE จุดประสงค์ของวิชาเหล่านี้คือ หลักๆ แล้วแต่ละมหาวิทยาลัยต้องการให้นิสิตนักศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งในเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การเชื่อมโยงและประยุกต์องค์ความรู้ ทักษะการแก้ปัญหา และอื่นๆ รวมไปถึงทักษะทางด้านการสื่อสาร การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

รายละเอียดของรายวิชา มคอ.3 รายวิชาศึกษาทั่วไป (Gen-Ed)    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

SHHU126 Human and Development สมมน ๑๒๖ มนุษย์กับการพัฒนา

-SHHU151 Love and Religion สมมน151 ความรักและศาสนา

-SHHU152 Work and Life สมมน152 งานกับชีวิต

-SHHU153 Professional Code of Ethics สมมน153 จรรยาบรรณวิชาชีพ 

-SHHU154 Professional Ethics สมมน154 จริยธรรมวิชาชีพ  

-SHHU155 Medical Ethics สมมน155 จริยศาสตร์ทางการแพทย์

-SHHU156 Museum Tourism สมมน156 ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ 

-SHHU157 Cultures and Food สมมน157 อาหารและวัฒนธรรม

-SHHU158 Critical Thinking and Philosophy in the Daily Life สมมน158 การคิดเชิงวิพากษ์และปรัชญาในชีวิตประจำวัน 

-SHHU159 Philosophy for the Good Society สมมน159 ปรัชญาเพื่อสังคมที่ดี

-SHHU160 Buddhism and Healing สมมน160 พระพุทธศาสนากับการรักษาโรค

-SHHU161 Group Dynamics and Teamwork สมมน161พลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีม

-SHHU162 Gender and Development สมมน162 เพศภาวะกับการพัฒนา 

-SHHU163 Moral Dilemma in Medicine สมมน163 ภาวะยุ่งยากใจเชิงจริยธรรมในการแพทย์

-SHHU164 Language, Thought and Communication สมมน164 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร

-SHHU165 Human and Development สมมน165 มนุษย์กับการพัฒนา 

-SHHU166 Human and Society in the Digital World สมมน166 มนุษย์และสังคมในโลกดิจิทัล  

-SHHU167 Humanities for Life สมมน167 มนุษยศาสตร์เพื่อชีวิต 

-SHHU168 Human Relations and Self Development สมมน168 มนุษยสัมพันธ์กับการพัฒนาตน

-SHHU169 Amazing Thai Royal Temple สมมน169 มหัศจรรย์พระอารามหลวง

-SHHU170 Local Cultures and Healthcare สมมน170 วัฒนธรรมท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพ

-SHHU171 Cultures and Medicine สมมน171 วัฒนธรรมกับการแพทย์

-SHHU172 Comparative Culture สมมน172 วัฒนธรรมเปรียบเทียบ

-SHHU173 Rhetoric for Leadership สมมน173 วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ 

-SHHU174 Religion and Healing สมมน174 ศาสนากับการรักษาโรค 

-SHHU175 Comparative Religions สมมน175 ศาสนาเปรียบเทียบ 

-SHHU176 The Arts of Master of ceremonies สมมน176 ศิลปพิธีกร

-SHHU177 Art Appreciation สมมน177 ศิลปวิจักษ์  

-SHHU178 The Art of Love สมมน178 ศิลปะแห่งรัก

-SHHU179 Meditation for Life Development สมมน179 สมาธิเพื่อพัฒนาชีวิต

-SHHU186 Buddhism for Life Development สมมน186 พระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาชีวิต

-SHHU187 Human and Society in the Digital World สมมน187 มนุษย์และสังคมในโลกดิจิทัล

-SHHU188 Human Relations and Self-development สมมน188 มนุษยสัมพันธ์กับการพัฒนาตน 

-SHHU189 Critical Thinking and Philosophy in the Daily Life สมมน189 การคิดเชิงวิพากษ์และปรัชญาในชีวิตประจำวัน

-SHHU190 Professional Code of Ethics สมมน190 จรรยาบรรณวิชาชีพ

-SHHU191 Professional Ethics สมมน191 จริยธรรมวิชาชีพ

-SHHU192 Rhetoric for Leadership สมมน192 วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ 

-SHHU193 Wisdom from Sanskrit สมมน193 ภูมิปัญญาจากภาษาสันสกฤต

SHSS122  The Social network for improving life and digital economy สมสค122  สังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจดิจิทัล

-SHSS123 Decision Making in Management for Entrepreneurship in the Digital Age สมสค123การตัดสินใจทางการบริหารสำหรับการเป็นผู้ประกอบการยุคดิจิทัล

-SHSS163 Social Organizations and Volunteering in Modern Societies สมสค 163 องค์กรทางสังคมและการอาสาสมัครในสังคมสมัยใหม่

-SHSS164 Policy and Planning สมสค 164 นโยบายและการวางแผน

-SHSS165 Learning and Understanding Criminal Behaviors สมสค165 เรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมอาชญากร

-SHSS166 Active Citizenship in the 21st Century สมสค 166 พลเมืองแข็งขันในศตวรรษที่ 21

-SHSS 167 Understanding Science and Technology from Human and Societal Perspectives สมสค 167 เข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมุมมองของมนุษย์และสังคม

-SHSS186 The Instruction of Administration and Management for New Generation สมสค186 การบริหารและการจัดการสำหรับคนยุคใหม่

-SHSS187 Modern Living Instruction สมสค187 วิธีการใช้ชีวิตสมัยใหม่

-SHSS189 ASEAN for Daily Life สมสค189 อาเซียนในชีวิตประจำวัน

-SHSS190 Politics Economics and Future of Thailand 190 การเมือง และเศรษฐกิจไทย

-SHSS191 Comprehensive Criminals and Crimes สมสค191 รู้เท่าทันอาชญากรและอาชญากรรม

-SHSS192 Thai Criminal Justice สมสค192 กระบวนการยุติธรรมไทย

-SHSS193 Innovation for Better Environment สมสค193 นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

-SHSS194 Business and human rights (Inter) สมสค194 ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

-SHSS195 Principles of Communication สมสค195 หลักการสื่อสาร

-SHSS196 Human Society and Environment สมสค196 มนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม

-SHSS197 Social Enterprise สมสค197 กิจการเพื่อสังคม

-SHSS198 Project and Evaluation สมสค198 โครงการและการประเมินผล

-SHSS199 Understanding an Inequality through Films สมสค199 เข้าใจความเหลื่อมล้ำผ่านภาพยนตร์

รายงานผลการดำเนินการของรายวิชาศึกษาทั่วไป Gen-Ed (มคอ.5) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาศึกษาทั่วไป (Gen-Ed)  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

ภาควิชาศึกษาศาสตร์ 8 รายวิชา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)     

นวัตกรรม หลักการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม เทคนิคการสืบค้นและวิเคราะห์สารสนเทศเพื่อออกแบบนวัตกรรม เทคนิคการออกแบบนวัตกรรม เทคนิคการออกแบบนวัตกรรมแบบเล่นและเรียนรู้ การสร้างต้นแบบนวัตกรรม องค์ประกอบในการออกกำลังกาย คุณค่าของการออกกำลังกาย ความฉลาดทางอารณ์ พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม และการมีสุขภาวะที่ดี รูปแบบและการออกแบบการออกกำลังกายอย่างสร้างสรรค์ การออกแบบต้นแบบนวัตกรรมการออกกำลังกาย

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)  

๑.๑  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม นวัตกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบนวัตกรรมการออกกำลังกาย

๑.๒  เพื่อพัฒนาทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการออกกำลังกายและสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่นักศึกษา

๑.๓  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

๑.๔  เพื่อฝึกทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกันร่วมกับผู้อื่น ความมีวินัย และความบรับผิดชอบต่อสังคม 

. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

๒.๑ วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)        

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

๒.๑.๑  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรม นวัตกรรมการเรียนรู้ การออกแบบนวัตกรรมการออกกำลังกายด้วยตนเองในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

๒.๑.๒  ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย และมีความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนา         พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมและการมีสุขภาวะที่ดี

๒.๑.๓  กำหนดความต้องการ ออกแบบ และสร้างต้นแบบนวัตกรรมการออกกำลังกายโดยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

๒.๑.๔   มีทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีวินัยและความรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมการเป็นพลเมืองดีและรับผิดชอบต่อสังคม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  อาจารย์ ดร.โสวริทธิ์ธร จันทร์แสงศรี  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description) 

แนวคิดของเกมประเภทต่างๆและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลักการออกแบบเกมและกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เทคนิคการวางแผนเชิงกลยุทธ์  หลักการวิเคราะห์ องค์ประกอบของเกมและกิจกรรม การสร้างต้นแบบนวัตกรรม การวิจัยเชิงสำรวจ หลักการสร้างแผนเพื่อปรับพฤติกรรม การประเมินตนเอง

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)  

๑.๑  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับอีสปอร์ตในฐานะกีฬาและอาชีพ

๑.๒  เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีระบบและเสริมสร้างทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมสู่ชีวิตการเรียนและการทำงานในอนาคต

๑.๓  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการวิเคราะห์เกมชนิดต่างๆซึ่งปลูกฝังให้นักศึกษาพร้อมเป็นนวัตกรที่มีคุณภาพ

๑.๔  เพื่อฝึกทักษะการจัดการเวลาและเสริมสร้างระเบียบวินัยเพื่อนำไปสู่สมดุลแห่งชีวิตและการเรียน

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับอีสปอร์ตโดยสามารถอธิบายถึงความหมายและความสำคัญของอีสปอร์ตในฐานะกีฬาและอาชีพประเภทหนึ่งรวมถึงเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตซึ่งนักศึกษาสามารถนำข้อได้เปรียบของอีสปอร์ตมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒.๑.๒ ตั้งเป้าหมายและวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการคิดรอบด้านเพื่อพัฒนาแผนการณ์ที่นำไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๑.๓  ออกแบบนวัตกรรมเกมและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนามนุษย์และสังคมรวมถึงวิเคราะห์เกมและกิจกรรม พัฒนาการเลือกสื่อและรู้เท่าทันสื่อ

๒.๑.๔ พัฒนาทักษะการบริหารและการจัดการชีวิตโดยสามารถจัดสรรเวลาและจัดระเบียบชีวิตที่นำไปสู่สมดุลแห่งชีวิตและการเรียน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรานิษฐ์  ศรีจันทราพันธุ์ 

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

           การเคลื่อนไหวและปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก การพัฒนาในอดีตที่ส่งผลต่อระบบนิเวศและคุณภาพชีวิต แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ 

  • จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)
  • เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • เพื่อสร้างความตระหนักถึงการเป็นพลเมืองที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • วัตถุประสงค์ในการพัฒนา

 ๒.๑ วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

๑. มีความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมและหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

๒. มีทักษะในการแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

๓. ประยุกต์ความรู้ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม และแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  ผศ.ดร.ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

               แนวคิดความสุข ความสำคัญของการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มิติของความสุข ทักษะชีวิตที่ความจำเป็นในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ความสมดุลในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในมิติสังคม สุขภาพจิต สุขภาพกาย และสิ่งแวดล้อม 

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

  • เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในการเรียนและการทำงานในอนาคต
  • เพื่อพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในการเรียนและการทำงานในอนาคต
  • เพื่อสร้างสมดุลของการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ตระหนักในตนเองและสามารถจัดการตนเองได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

๑. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขสำหรับการเรียนและการทำงานในอนาคต

๒. มีทักษะการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในการเรียนและการทำงานในอนาคต

๓. มีความตระหนักในตนเอง พัฒนาตนเอง และสามารถจัดการตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ร่วมและสร้างประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)     

แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความเข้าใจเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมการครองตน การดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข ความพอประมาณ ความมีเหตุผลความระมัดระวัง การสร้างภูมิคุ้มกัน การมีคุณธรรม ความรอบรู้ ความรอบคอบ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)  

๑.๑  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา มีความเข้าใจในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

๑.๒  เพื่อสร้างความคิดอย่างเป็นระบบและเสริมสร้างความตระหนักการเป็นพลเมืองของประเทศในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)        

       รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

       ๒.๑.๑ รู้และเข้าใจสถานการณ์ของสังคมที่ปรากฏอยู่ซึ่งนักศึกษาสามารถนำข้อดีของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ประกอบในการดำรงชีวิต      

    ๒.๑.๒ ตั้งเป้าหมายและวางแผนการดำเนินชีวิตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางการใช้ชีวิตยุค 5.0 ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          แนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน ความต้องการของตลาดแรงงาน ประเด็นที่ส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ การพัฒนาความคิดที่มีผลต่อพฤติกรรม กระบวนการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ภาวะผู้นำและการพัฒนาความผูกพันของทีม การออกกำลังกายและ     ความอยู่ดีมีสุข การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ เทคโนโลยีสารสนเทศและ        การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต นวัตกรรมและรูปแบบนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการเบื้องต้น

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)  

๑.๑ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน และประเด็นที่ส่งเสริมการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ของตลาดแรงงาน

๑.๒ เพื่อพัฒนาทัศนคติของการพัฒนาและการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน

๑.๓ เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในศตวรรษที่ ๒๑

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

            รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

            ๒.๑.๑ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืนและประเด็นที่ส่งเสริมการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ของตลาดแรงงาน     

            ๒.๑.๒ วิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยทักษะสหวิทยาการ (Interdisciplinary Skills)

            ๒.๑.๓ มีทักษะภาวะผู้นำและทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วยความรับผิดชอบและความผูกพัน

            ๒.๑.๔ มีทักษะการสื่อสารและการนำเสนอเพื่อความเป็นเลิศ

          ๒.๑.๕ เข้าใจกระบวนการพัฒนานวัตกรรม รูปแบบนวัตกรรม การเป็นผู้ประกอบการ และบูรณาการสู่     การพัฒนาโครงงานการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  ดร.สมทบ ฐิตะฐาน

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

               ความรู้พื้นฐานและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการตลาด การเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หลักการวางแผนธุรกิจ    การใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสืบค้น วิเคราะห์สารสนเทศเพื่อใช้สื่อออนไลน์ เทคนิคการออกแบบนวัตกรรมสินค้าและบริการ เทคนิคการออกแบบการตลาดและประชาสัมพันธ์ การสร้างต้นแบบธุรกิจขนาดเล็ก องค์ประกอบในการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก คุณค่าของการเป็นผู้นำ ความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการคิดบวกที่เหมาะสม และการทำการตลาดแบบกองโจร

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)  

    ๑.๑ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการตลาดในการทำธุรกิจขนาดเล็ก การจัดการองค์กรแบบไม่มี                                    

          โครงสร้าง นวัตกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการรวมถึงการออกแบบนวัตกรรมสินค้าและบริการ

    ๑.๒  เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการเริ่มต้นทำธุรกิจขนาดเล็กและสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมให้แก่นักศึกษา

    ๑.๓  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

    ๑.๔  เพื่อฝึกทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกันร่วมกับผู้อื่น สร้างความมีวินัยและความบรับผิดชอบต่อสังคม

  วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)        

   รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

   ๒.๑.๑  รู้และเข้าใจเรื่องการตลาดสำหรับการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก การใช้นวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน  การออกแบบโฆษณา ด้วยตนเองในรูปแบบต่างๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม

   ๒.๑.๒  ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นนักธุรกิจ และมีความฉลาดทางอารมณ์ที่ทำให้สามารถคิดบวกต่ออุปสรรคทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น   

   ๒.๑.๓  กำหนดความต้องการเพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบนวัตกรรมทางการตลาดโดยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

   ๒.๑.๔  ทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกันเป็นทีมกับผู้อื่น

   ๒.๑.๕   สร้างความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบต่อสังคม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)     

           สถานการณ์วิกฤติ สภาพการณ์และผลกระทบในภาวะวิกฤติ เครือข่ายความช่วยเหลือทั้งภายในและภายนอก การประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องในภาวะวิกฤติ หลักการจัดการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติ ศาสตร์พระราชา การพัฒนาตนเองด้านความคิดแบบเติบโต การสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ การสร้างวินัยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ด้านการเรียนรู้ในภาวะวิกฤติ การเป็นผู้นำ เทคโนโลยีสุขภาพและการออกกำลังกาย ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ภาวะวิกฤติ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาวะวิกฤติ การพัฒนานวัตกรรม การจัดการการเงินภายใต้ภาวะวิกฤติ

          Crisis; conditions and effects in a crisis; internal and external support networks; assessing relevant factors in times of crisis; principles of life management in a crisis; the King’s Philosophy; self-development with growth mindset; mind immunity; building self-discipline and responsibility towards society; creative thinking skills to create new learning alternatives in a crisis; leadership; health technology and exercises; environmental concerns under crisis; use of information technology in a crisis; innovation development; and financial management under crisis.    

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)  

๑.๑  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติ การจัดการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติ การพัฒนาตนเองในภาวะวิกฤติ และการสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ในภาวะวิกฤติ

๑.๒  เพื่อพัฒนาทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการชีวิตตนเองในภาวะวิกฤติและความรับผิดชอบต่อสังคม

๑.๓  เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติและการทำโครงงานนวัตกรรม

๑.๔  เพื่อฝึกทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีคุณธรรม ความมีวินัย ความบรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

     ๒.๑ วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

            รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

     ๒.๑.๑ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์และผลกระทบของวิกฤติ เครือข่ายความช่วยเหลือทั้งภายในและ

              ภายนอก และการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องในภาวะวิกฤติ

            ๒.๑.๒ วิเคราะห์และยกตัวอย่างเกี่ยวกับการจัดการชีวิตในภาวะวิกฤติ

            ๒.๑.๓ วางแผนและคิดวิเคราะห์ด้านการพัฒนาตนเอง การสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ การมีคุณธรรม  การสร้างวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

            ๒.๑.๔ แสดงการใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ด้านการเรียนรู้ การเป็นผู้นำ การใช้เทคโนโลยีสุขภาพและการออกกำลังกาย และความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ภาวะวิกฤติ

            ๒.๑.๕ ทำโครงงานการพัฒนานวัตกรรมรายกลุ่มเพื่อการจัดการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม รูปแบบนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

ภาควิชาสังคมศาสตร์ 13 รายวิชา (หลักสูตรไทย 12 วิชา นานาชาติ 1 วิชา)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  : รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

         ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และระบบสังคมของประเทศต่างๆ รูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รูปแบบการพัฒนาทางการเมือง การพัฒนาทางสังคมของประเทศในสังคมโลก ความแตกต่างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของการพัฒนาในประเทศต่างๆโดยผ่านการดูภาพยนตร์

         Fundamental Knowledge in studying political, economic and social systems in different countries; Pattern of economic development, political development and social development in countries of global community; differences in politics, economics and society between developed and developing states; comparative analysis of developments within different countries through movies.

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

๑.๑ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆของประชาชนโลกผ่านภาพยนตร์จากประเทศต่างๆ

๑.๒ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการดูภาพยนตร์ไปปรับใช้เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาประเทศตามสายวิชาการที่ตนเองสำเร็จการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศต่อไปในอนาคต

๑.๓ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ในองค์กร ชุมชน หรือบุคคลอื่นต่อไป ให้มีความรู้ความเข้าใจต่อปัญหา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ในประเทศต่างๆ

 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

  • มีความรู้ความเข้าใจในการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศต่างๆในโลกโดยผ่านการดูภาพยนตร์ที่ผลิตจากนานาประเทศ
  • มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อเข้าใจแนวทางการพัฒนาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา
  • สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศต่างๆในสังคมโลก
  • มีทักษะในการอธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันในระดับของการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คนาง คันธมธุรพจน์ 

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

         มนุษย์นิเวศ ความทันสมัยเชิงนิเวศ กระบวนทัศน์ทางสังคม ทฤษฎีทางสังคมวิทยา แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ครอบครัวกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสะอาดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีธรรมมาภิบาล กฎหมายสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกรณีศึกษา

Human ecology, ecological modernization , social paradigm, sociological theories, concepts of civil participation in the environmental management; family and environment; environmental management, clean technology and the environmental management; good governance for the   environmental management; environmental laws, environmental economies; climate change  and case studies

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

เพื่อให้นักศึกษาอธิบายแนวคิดมนุษย์นิเวศวิทยา ความทันสมัยเชิงนิเวศ แนวคิดและกระบวนทัศน์ทางสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อม กฏหมายสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิดมนุษย์นิเวศวิทยา ความทันสมัยเชิงนิเวศ แนวคิดและกระบวนทัศน์ทางสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อม กฏหมายสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  : ดร.จิตรสุดา ลิมเกรียงไกร

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

ปัญหาในสังคมไทยและคุณค่าของกิจการเพื่อสังคม ความหมาย องค์ประกอบ ลักษณะ รูปแบบและหลักการของกิจการเพื่อสังคม การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การศึกษาดูงาน สภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการเพื่อสังคมการเริ่มต้นกิจการเพื่อสังคม จิตสาธารณะ แนวคิดการบริหารจัดการและกระบวนการบริหารกิจการเพื่อสังคม จิตวิทยาสังคม การตลาดสำหรับกิจการเพื่อสังคม การสื่อสารการตลาด การสร้างแบรนด์ และสื่อสังคมสำหรับกิจการเพื่อสังคม การจัดหาและบริหารรายได้ กรณีศึกษากิจการเพื่อสังคมในต่างประเทศ กรณีศึกษากิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย

          Thai social problems and value of social enterprise; meanings, factors, characteristics, forms, and principles of social enterprise; study visits, knowledge sharing, environments affecting the operation of social enterprise; public mind, social enterprise start up, management and administration for social enterprise; social psychology, marketing for social enterprise, marketing communication management; branding and social media for social enterprise; revenue raising and management; case studies

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ

          ๑   มีความรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม ความหมาย องค์ประกอบ ลักษณะ รูปแบบและหลักการของกิจการเพื่อสังคม

๒   เชื่อมโยงความรู้กับการประยุกต์แนวคิดการบริหารจัดการและกระบวนการบริหารกิจการเพื่อสังคมในการวางแผนโครงการได้

๓ มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

       เพื่อให้นักศึกษามีรู้ความเข้าใจแนวความคิดตามหลักการของกิจการเพื่อสังคม โดยเรียนรู้ปัญหาในสังคมไทยและคุณค่าของกิจการเพื่อสังคม ความหมาย องค์ประกอบ ลักษณะ รูปแบบและหลักการของกิจการเพื่อสังคม รวมถึงการศึกษาดูงานกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย สภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการเพื่อสังคมการเริ่มต้นกิจการเพื่อสังคม จิตสาธารณะ แนวคิดการบริหารจัดการและกระบวนการบริหารกิจการเพื่อสังคม จิตวิทยาสังคม การตลาดสำหรับกิจการเพื่อสังคม การสื่อสารการตลาด การสร้างแบรนด์ และสื่อสังคมสำหรับกิจการเพื่อสังคม การจัดหาและบริหารรายได้

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ สงค์ประชา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

            หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับโครงการ การวางแผนโครงการ การเขียนโครงการและการวิเคราะห์โครงการ หลักการและแนวคิดการประเมินผลโครงการ  รูปแบบการประเมินผลโครงการ กรณีศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการประเมินผลโครงการ

Principles and concepts of projects; project planning; writing projects and project assessment; principles and concepts of project evaluation, the model of project evaluation; examples of project assessments and case studies

     จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

     เพื่อให้นักศึกษาอธิบายหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับโครงการ และการประเมินผลโครงการ  จำแนกรูปแบบการประเมินผลโครงการ วิเคราะห์กรณีศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการประเมินผลโครงการผ่านกระบวนการทำงานเป็นทีม

     วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

     รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโครงการ และการประเมินผลโครงการ  สามารถจำแนกรูปแบบการประเมินผลโครงการ วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับโครงการและการประเมินผลโครงการผ่านการทำงานเป็นทีม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

พื้นฐานทางด้านการบริหาร การทำงานเป็นหมู่คณะ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทางการบริหาร ปรัชญา และพัฒนาการทางทฤษฎีทางการบริหาร ลักษณะทั่วไปของการบริหาร เปรียบเทียบระหว่าง การบริหารราชการกับการบริหารธุรกิจ การจัดการองค์การ หลักการบริหารและกระบวนการบริหาร แนวคิด และรูปแบบของการบริหารงานในสมัยใหม่ สำหรับคนยุคใหม่

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

ทราบพื้นฐานทางด้านการบริหาร เข้าใจลักษณะการทำงานเป็นหมู่คณะ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทางการบริหาร ปรัชญาและพัฒนาการทางทฤษฎีทางการบริหาร ลักษณะทั่วไปของการบริหาร เปรียบเทียบระหว่าง การบริหารราชการกับการบริหารธุรกิจ การจัดการองค์การ หลักการบริหาร และกระบวนการบริหาร แนวคิดและรูปแบบของการบริหารงานในสมัยใหม่

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ

          ๑. อธิบายหลักเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของหลักการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและการบริหาร

๒. วิเคราะห์ อธิบายลักษณะและปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางการบริหาร และประยุกต์ใช้ความรู้ ในการบริหารงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนได้


อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          วิถีชีวิตในสังคมยุคใหม่  ผลกระทบของชีวิตยุคใหม่ต่อสุขภาพทางชีวิตทางกาย ทางสังคม และสุขภาพทางจิต ปัญหา(ทุกข์) จากการใช้ชีวิตของคนในยุคใหม่ (การบริโภค สิ่งแวดล้อม ความเครียด ความว้าเหว่ โดดเดียว การพึ่งพิงวัตถุภายนอก ความก้าวร้าว  ความสับสน ความฟุ้งซ่านของจิตใจ การขาดเป้าหมายในชีวิต) มูลเหตุ (สมุทัย) ของวิกฤติชีวิตในสังคมยุคใหม่ หลักของการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่อย่างสงบและสุข (นิโรธ) ทักษะและเทคนิคการใช้ชีวิตที่มีดุลยภาพและเป็นสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม (มรรค) เช่น การสมาธิ  ภาวนา การเจริญสติ การออกกำลังกายอย่างระวัง  การสร้างสังคมกัลยาณมิตร ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีสมานฉันท์และสามารถยอมทนต่อความแตกต่างได้ ความสามารถในการแสวงหาและเลือกบริโภคข้อมูล และการเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบและมีจิตสำนึกในสังคมสาธารณะ

          จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

รายวิชา Modern living skills มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาทราบวิถีชีวิตในสังคมยุคใหม่  ทราบผลกระทบของชีวิตยุคใหม่ต่อสุขภาพทางชีวิตทางกาย ทางสังคม และสุขภาพทางจิต ปัญหา(ทุกข์) จากการใช้ชีวิตของคนในยุคใหม่ (การบริโภค สิ่งแวดล้อม ความเครียด ความว้าเหว่ โดดเดียว การพึ่งพิงวัตถุภายนอก ความก้าวร้าว  ความสับสน ความฟุ้งซ่านของจิตใจ การขาดเป้าหมายในชีวิต)

 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ

          ๑. อธิบายปัญหาสำคัญที่เป็นผลจากการดำเนินชีวิตในแบบสมัยใหม่ของคนปัจจุบันได้

          ๒. วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยชองการเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต ที่โยงกับสภาพสังคมยุคใหม่ได้

๓. อธิบายและฝึกปฏิบัติแนวทางในการแก้ปัญหาที่จำเป็น ในการใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ อย่างมีคุณภาพและ  มีความสุขได้


อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และระบบสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รูปแบบการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ที่ดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประชาชนอาเซียน ความแตกต่างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาขิก แนวโน้มในการพัฒนาความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกมิติภายใต้กรอบอาเซียน ความแตกต่างของอาเซียน กับองค์กรระหว่างประเทศอื่น

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

๑.๑ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางการเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนในประเทศสมาชิก

๑.๒ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อการสร้างความร่วมมือที่ดีในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษากับประเทศสมาชิกอื่นๆ ต่อไป

๑.๓ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ในองค์กร ชุมชน หรือบุคคลอื่นต่อไป ให้มีความรู้ความเข้าใจต่อประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

  • มีความรู้ความเข้าใจในการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของประเทศสมาชิกอาเซียนในปัจจุบัน
  • มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศไทย กับประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  • สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของอาเซียน กับองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ

มีทักษะในการอธิบายข้อมูลพื้นฐานด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของประเทศสมาชิกอาเซียน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และการอยู่ร่วมกัยในภูมิภาคอาเซียน ต่อไปในอนาคต

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

           ความรู้พื้นฐานการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจไทย เปรียบเทียบการเมือง การปกครองและ เศรษฐกิจไทยในแต่ละยุคสมัย แนวทางการพัฒนาการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจ การพัฒนาอันยั่งยืนของประเทศ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบระบบการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัยเพื่อระบุปัญหา และแนวทางการพัฒนาการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยื่นอันจะเป็นประโยชน์ ต่อ ตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

  • มีความรู้ความเข้าใจในหลักการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศไทยจากอดีตสู่ปัจจุบันเพื่อการวิเคราะห์ ประเด็นเหตุการณ์สำคัญต่างๆของประเทศอย่างมีวิจารณญาณ
  • มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ อย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจได้
  • สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย และประเทศอื่นๆในสังคมโลกได้ มีทักษะในการอธิบายข้อมูลพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจของไทยกับผู้อื่นทั้งในและนอกประเทศ เพื่อช่วยให้สังคมทั่วไปเข้าใจประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  รศ.ดร.วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

            ความหมายของอาชญากรรม และผู้กระทำผิด, องค์ประกอบของอาชญากรรม โทษทางอาญา รูปแบบอาชญากรรม ปัญหาและผลกระทบของอาชญากรรมในสังคม การป้องกันอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการควบคุมทางสังคมที่เกี่ยวข้อง

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

           นักศึกษามีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในประเด็นเกิดอาชญากรรมรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ผลกระทบของอาชญากรรมต่อสังคม และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาชญากรรม รวมทั้งแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

             ๑. มีความรู้ความเข้าใจ

                       – แนวคิด องค์ประกอบของอาชญากรรม และโทษทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม

                       – รูปแบบของอาชญากรรมและการเปลี่ยนแปลงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

                       – หลักการป้องกันอาชญากรรม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม

             ๒. ประยุกต์ความรู้ที่ได้เพื่อนำไปปรับใช้ในการป้องกันอาชญากรรม

             ๓. มีจริยธรรมและคุณธรรมและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตประจำวัน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  รศ.ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          แนวคิด หลักการ และความหมายของการบริหารงานยุติธรรม ประวัติและพัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมสากล หลักนิติธรรม กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก กระบวนการยุติธรรมทางเลือก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

         เพื่อสร้างบัณฑิตให้รู้แจ้งรู้จริงสมเหตุสมผลเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม หลักนิติธรรม พัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก กระบวนการยุติธรรมทางเลือก ปัญหาละอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

๑.  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย

๒.  เพื่อเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักและกระบวนการยุติธรรมทางเลือก

๓.  เพื่อมีความเข้าใจเบื้องต้นถึงบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  อาจารย์ ดร. ชนันนา รอดสุทธิ

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          การแสวงหาผลประโยชน์ตามใจชอบของมนุษย์ ส่งผลให้โลกของเราอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็นทั่วโลก อาทิ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาโลกร้อน และปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ย่อมบ่งบอกถึงการขาดสมดุลย์ของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาของสหประชาชาติ ต้นเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่รับรู้ในความเป็นจริงของโลก การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทดลองคิด ออกแบบ และลงมือทำนวัตกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายในชีวิตประจำวัน จะช่วยสร้างการรับรู้เฉพาะตน และประสบการณ์ตรงในการช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอีกแนวทางหนึ่ง

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          รายวิชานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (มมศท.) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษามีวิธิคิดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

๑. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

 ๒. ค้นหาข้อมูล และใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ในการจัดทำโครงงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 ๓. มีเจตนคติที่ดีต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความรับผิดชอบของพลเมืองโลก

๔. มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายและทำงานกับผู้อื่นได้

Course Coordinator and Instructor

Dr. Wanaporn Techagaisiyavanit, S.J.D. and the Department’s staff

ผศ.ดร.วรรณพร เตชะไกศิยวณิช

Curriculum Vitae

Course Description

      Exploration of the fundamental concepts of the human rights principle, international instruments and standards with regard to the upholding of the human rights concept, different aspects of social impacts brought on by business operation, the evolution and the changing trend of the private sector as a key promoter for human rights, and the role of the civil society in supporting this trend.

     Course goal(s)

  1. To provide fundamental knowledge and analytical skills about the core principles of human rights in relation to the conduct of business operation;
  2. To create awareness of the possible social impacts generated by private sectors upon the maintenance of fundamental human rights principles;
  3. To enable the application of knowledge and to foster social awareness of current social issues to help prevent and address such challenges.

     Objectives of Course 

To improve the course outline and description in accordance with national policy and global trend

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อ.ดร.อรรถพล กาญจนพงษ์พร

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

                   หลักการและองค์ประกอบหลักของการสื่อสาร ประเภท รูปแบบและวิธีการสื่อสาร ปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การสื่อสารการตลาด เทคโนโลยีกับการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการสื่อสาร และการค้นหาสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ภาวะผู้นำกับการบริหารความเปลี่ยนแปลง และการตรวจสอบการสื่อสารในการทำงาน national policy and

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสารที่จะส่งผลต่อปัญหาของการสื่อสารที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆ ต่อองค์กร สังคม และแนวทางการแก้ไขหรือพัฒนาการสื่อสารที่เกิดขึ้นต่อองค์กร สังคมให้ดีขึ้น รู้ถึงปัจจัยที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อสาร และรู้ถึงเทคโนโลยีที่มีอยู่ที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร และพัฒนาสังคม

 

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

 ๒.๑ วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives) เพื่อให้นักศึกษา

๑. เกิดความรู้ ความเข้าใจหลักการ องค์ประกอบของการสื่อสาร

๒. อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร และในสังคมที่มีสาเหตุมาจากการสื่อสาร

๓. ประยุกต์ความรู้ที่มีเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในองค์กรและในสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร หรือพัฒนาการสื่อสารให้ดีขึ้นได้

๔. สามารถนำเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารที่มีอยู่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในการทำงาน

ภาควิชามนุษยศาสตร์ 37 รายวิชา (หลักสูตรไทย 29 วิชา นานาชาติ 8 วิชา)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.อำนาจ ยอดทอง

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

           ทัศนะของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามเกี่ยวกับความรัก ความสัมพันธ์ทางเพศ เพศ เพศสภาพและเพศวิถี คำสอนและแนวการปฏิบัติในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามที่สัมพันธ์กับความรักแบบเพื่อน แบบสามีภรรยา แบบครูอาจารย์กับศิษย์ แบบบิดามารดากับบุตรธิดา ทัศนะของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามเกี่ยวกับความรักกับจุดหมายสูงสุดในทางศาสนา

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับความรัก ความสัมพันธ์ทางเพศ เพศ         เพศสภาพและเพศวิถี คำสอนและการปฏิบัติในทางศาสนาที่สัมพันธ์กับความรักแบบต่างๆ ไปใช้วิเคราะห์ประเด็น ปัญหา และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับความรักได้อย่างถูกต้องตามบริบทของศาสนาแต่ละศาสนา

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ทัศนะของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามเกี่ยวกับความรัก ความสัมพันธ์ทางเพศ เพศ เพศสภาพและเพศวิถี
  • คำสอนและการปฏิบัติในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามที่สัมพันธ์กับความรักแบบเพื่อน แบบสามีภรรยา แบบครูอาจารย์กับศิษย์ และแบบบิดามารดากับบุตรธิดา
  • ความรักกับจุดหมายสูงสุดในทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

๒.๑.๒ ระบุ วิพากษ์ และประเมินความสมเหตุสมผลของการอ้างเหตุผลได้

๒.๑.๓ เรียนรู้กลยุทธ์และทักษะของสาขาวิชาและนำมาปรับใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่

๒.๑.๕ ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันหลากหลายเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและเป้าหมาย เช่น การแบ่งปันข้อมูลความรู้ การแสดงความเห็น การสาธิตหรือร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

๒.๑.๖ สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในกลุ่มหรือทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาที่กำหนด

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

           แนวคิดเรื่องงานและการสันทนาการ งานกับเป้าหมายในชีวิต คุณภาพชีวิตการทำงาน ทักษะการวางแผน และจัดการ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน การสร้างคุณค่าให้กับงาน การรับมือความโกรธ ความเครียดและความล้มเหลว การสร้างความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต การสันทนาการและคุณภาพชีวิต

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

           นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และตระหนักถึงมุมมองอันหลากหลายต่อประเด็นการสร้างความสมดุล ระหว่างงานกับเป้าหมายในชีวิต และงานกับการสันทนาการ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะได้อย่างถูกต้องตามหลักแนวคิด เรื่องคุณค่าและคุณภาพชีวิต

วัตถุประสงค์รายวิชา

             รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • แนวคิดเรื่องงานและการสันทนาการ
  • งานกับเป้าหมายในชีวิต
  • คุณภาพชีวิตการทำงาน
  • ทักษะการวางแผนและจัดการ
  • ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
  • การสร้างคุณค่าให้กับงาน
  • การรับมือความเครียดและความล้มเหลว
  • การสร้างความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต
  • การสันทนาการและคุณภาพชีวิต

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการเลือกหลักการในการทำงานและสันทนาการได้เหมาะสมกับสถานการณ์ส่วนบุคคล

              ๒.๑.๓ มีความสามารถในการเสนอแนวทางการทำงานและสันทนาการสำหรับตนเอง

              ๒.๑.๔ มีความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

           ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์วิชาชีพ ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ ความหมายและองค์ประกอบของวิชาชีพ มโนทัศน์และทฤษฎีจริยปรัชญาในจริยธรรมวิชาชีพ จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา และคำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในบริบทวิชาชีพ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals) 

           นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และตระหนักถึงมุมมองอันหลากหลายต่อประเด็นเชิงจริยธรรมวิชาชีพพื้นฐาน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะได้อย่างถูกต้องตามหลักจริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์รายวิชา (Course Objectives)

           รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์วิชาชีพ
  • ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ ความหมายและองค์ประกอบของวิชาชีพ
  • มโนทัศน์และทฤษฎีจริยปรัชญาในจริยธรรมวิชาชีพ
  • จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
  • คำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในวิชาชีพ

           ๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นเชิงจริยธรรมวิชาชีพพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมโนทัศน์ ทฤษฎีและหลักการเชิงจริยศาสตร์ จรรยาบรรณวิชาชีพและเหมาะสมกับบริบท

           ๒.๑.๓ มีความสามารถในการเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นจริยธรรมวิชาชีพจากมุมมองอันหลากหลาย และเสนอมุมมองเชิงจริยธรรมวิชาชีพของตนได้อย่างสอดคล้องกับหลักการและเหมาะสมกับบริบท

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา และคณะ  

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

              ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์วิชาชีพ ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ ความหมายและองค์ประกอบของวิชาชีพ ความรับผิดชอบของสมาคมวิชาชีพ มโนทัศน์และทฤษฎีจริยปรัชญาในจริยธรรมวิชาชีพ กฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้เรียน และคำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในวิชาชีพประเด็นจริยธรรมวิชาชีพ และหลักการทำงานร่วมกันเพื่อธำรงความเป็นวิชาชีพ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

              นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และตระหนักถึงมุมมองอันหลากหลายต่อประเด็นเชิงจริยธรรมวิชาชีพพื้นฐาน ให้ข้อเสนอแนะได้อย่างถูกต้องตามหลักจริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์วิชาชีพ
  • ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ ความหมายและองค์ประกอบของวิชาชีพ ความรับผิดชอบของสมาคมวิชาชีพ
  • มโนทัศน์และทฤษฎีจริยปรัชญาในจริยธรรมวิชาชีพ
  • กฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้เรียน
  • คำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในวิชาชีพ
  • หลักการทำงานร่วมกันเพื่อธำรงความเป็นวิชาชีพ

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นเชิงจริยธรรมวิชาชีพพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมโนทัศน์ ทฤษฎีและหลักการเชิงจริยศาสตร์ จรรยาบรรณวิชาชีพและเหมาะสมกับบริบท

              ๒.๑.๓ มีความสามารถในการเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นจริยธรรมวิชาชีพจากมุมมองอันหลากหลาย และเสนอมุมมองเชิงจริยธรรมวิชาชีพของตนได้อย่างสอดคล้องกับหลักการและเหมาะสมกับบริบท

              ๒.๑.๔ มีความสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา 

รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์การแพทย์ จริยธรรมแพทย์ และจรรยาบรรณแพทย์ วิธีการวิเคราะห์ทาง
จริยศาสตร์ ทฤษฎีจริยศาสตร์ทางการแพทย์ จริยธรรมศาสนา และประเด็นจริยธรรมต่างๆ ในการแพทย์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และตระหนักถึงมุมมองอันหลากหลายต่อประเด็นเชิงจริยธรรมทางการแพทย์พื้นฐาน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะได้อย่างถูกต้องตามหลักจริยศาสตร์การแพทย์

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์การแพทย์ จริยธรรมแพทย์ และจรรยาบรรณแพทย์
  • วิธีการวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์
  • ทฤษฎีจริยศาสตร์การแพทย์
  • จริยธรรมศาสนา
  • ประเด็นจริยธรรมต่างๆ ในการแพทย์

๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นเชิงจริยธรรมทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องตามมโนทัศน์ ทฤษฎีและหลักการเชิงจริยศาสตร์ทางการแพทย์ และเหมาะสมกับบริบท

๒.๑.๓ มีความสามารถในการเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นจริยธรรมทางการแพทย์จากมุมมองอันหลากหลาย และเสนอมุมมองเชิงจริยธรรมทางการแพทย์ของตนได้อย่างสอดคล้องกับหลักการและเหมาะสมกับบริบท

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          ความหมายและประเภทต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ ความสำคัญทางสังคมวัฒนธรรมและผลทางเศรษฐกิจของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สำคัญของไทยและต่างประเทศ ประโยชน์ของการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ต่อชีวิต

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญและประเภทต่างๆ ของการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในประเทศได้ อีกทั้งสามารถแสวงหาความรู้ในพิพิธภัณฑ์และนำเสนอโดยการใช้รูปแบบเทคนิควิธีการนำเสนอใหม่ๆจากเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ต่างๆในประเทศเพื่อการสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ชุมชนและประเทศได้

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมาย ความสำคัญและประเภทต่าง ๆ ของการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์
  • เห็นถึงคุณค่าของการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อชีวิตมนุษย์
  • อิทธิพลของการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อชีวิตมนุษย์
  • การเรียนรู้อันเกิดจากการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์
  • องค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพื่อการสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ชุมชนและประเทศ

๒.๑.๒ มีความสามารถประยุกต์ความรู้จากการศึกษาเพื่อการต่อยอดด้านการท่องเที่ยวได้

             ๒.๑.๓ มีความสามารถในการนำเสนอ อธิบายและตระหนักถึงการเข้าถึงการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์โดยการใช้รูปแบบเทคนิควิธีการนำเสนอจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.บุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

          เข้าใจวัฒนธรรมและอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างเอกลักษณ์และอาหาร สัญลักษณ์และความหมายทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่เกี่ยวกับอาหาร ปรัชญาที่เกี่ยวกับอาหาร วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและอาหาร อาหารในศาสน 

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

       นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอาหาร ความสัมพันธ์กันระหว่างเอกลักษณ์ของแต่ละวัฒนธรรม สัญลักษณ์ และความหมายทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ปรัชญาแนวคิดที่เกี่ยวกับอาหาร สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและอาหาร อาหารในศาสนา     

วัตถุประสงค์รายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมและอาหาร ประเพณีที่เกี่ยวกับอาหาร ความเชื่อในเรื่องอาหารที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น

๒.๑.๒ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางปรัชญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาหาร

๒.๑.๓ มีความรู้ความเข้าใจถึงอาหารในแต่ละศาสนา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

            ความหมายและขอบเขตของปรัชญา ตรรกศาสตร์พื้นฐานและการคิดเชิงวิพากษ์ มโนทัศน์เชิงปรัชญาในชีวิตประจำวัน ความจริง ความเป็นจริง ความรู้ จริยธรรม ความยุติธรรม เจตจำนงเสรี และความงาม

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

             นักศึกษามีความเข้าใจปรัชญาเบื้องต้น มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความจริง ความรู้ จริยธรรม ความยุติธรรม และความงาม ได้อย่างมีเหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณลักษณะของผู้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจวิชาปรัชญาเบื้องต้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถสรุปเนื้อหาของสาขาย่อยต่าง ๆ ในปรัชญาประกอบด้วยอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์และตรรกศาสตร์ 

๒.๑.๒ มีความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์จริงในชีวิตประจำวันและข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความจริง ความรู้ จริยธรรม ความยุติธรรม และความงาม ได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล

๒.๑.๓ มีความเข้าใจตรรกศาสตร์พื้นฐานและการคิดเชิงวิพากษ์ สามารถคิด วิเคราะห์และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเหตุผล

๒.๑.๔ มีคุณลักษณะของผู้มีจริยธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          มโนทัศน์ทางจริยศาสตร์และปรัชญาสังคมเรื่องสิทธิและหน้าที่ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม และเสรีประชาธิปไตยเพื่อการสร้างสังคมที่ดี มโนทัศน์เรื่องความรุนแรง การประทุษวาจา และการทำให้บุคคลเป็นวัตถุ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษาเข้าใจถึงมโนทัศน์ทางจริยศาสตร์และปรัชญาสังคมเพื่อการสร้างสังคมที่ดี ตระหนักและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาและการสร้างสังคมที่ดีได้อย่างเหมาะสมกับบริบทสังคม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑  มีความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์ทางจริยศาสตร์และปรัชญาสังคมเพื่อการสร้างสังคมที่ดีอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

๒.๑.๒  วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบเชิงจริยธรรมและสังคมเพื่อการสร้างสังคมที่ดีได้อย่างเหมาะสมกับบริบทสังคม

๒.๑.๓  เข้าใจและตระหนักถึงประเด็นท้าทายเกี่ยวกับปัญหาเชิงจริยธรรมและสังคม รวมถึงเสนอแนะแนวทางการสร้างสังคมที่ดีได้อย่างเหมาะสมกับบริบทสังคม

๒.๑.๔  ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันหลากหลายในการสื่อสารเพื่อการสร้างสังคมที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา 

          แนวคิดเรื่องการรักษาโรคตามนัยพระพุทธศาสนาแบบองค์รวมที่ปรากฎในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นๆ ชั้นหลัง ความสัมพันธ์ระหว่างกายและใจ สาเหตุของโรคทางกายและทางใจ การรักษาโรคด้วยวิธีเจริญสติผ่านการสวดมนต์ เจริญสมาธิและวิปัสสนา วิธีปฏิบัติตนทางกายและใจเพื่อป้องกันและรักษาโรค รวมทั้งการเอาชนะความตายตามพุทธวิธี

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

        ๑.๑ เพื่อให้นักศึกษารู้แนวคิดของพระพุทธศาสนาและหลักการของการรักษาโรคตามแนวทางพระพุทธศาสนา

        ๑.๒ เพื่อให้นักศึกษานำหลักการรักษาโรคตามแนวพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course objectives)

            รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้:-

           ๒.๑.๑ เข้าใจทฤษฎีว่าด้วยการรักษาโรคตามแนวพระพุทธศาสนาด้วยตนเอง

           ๒.๑.๒ ปฏิบัติได้ด้วยตนเองและวางแผนสาธิต/แนะนำผู้อื่นให้รู้จักป้องกันโรคตามแนวพระพุทธศาสนาได้

          ๒.๑.๓ ใช้ความรู้เรื่องการรักษาโรคตามแนวคิดของพระพุทธศาสนาไปช่วยเหลือสังคมได้

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

              ความหมายของพลวัตกลุ่ม ธรรมชาติ ประเภทของกลุ่ม และพฤติกรรมกลุ่ม การพัฒนาทีม การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำกลุ่ม การสื่อสารของกลุ่ม การจัดการความขัดแย้งของกลุ่ม จริยธรรมและมารยาทของกลุ่ม

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

              นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้ด้านพลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมายของพลวัตกลุ่ม ธรรมชาติ ประเภทและพฤติกรรมกลุ่ม
  • การพัฒนาทีม
  • การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำกลุ่ม การสื่อสารของกลุ่ม การจัดการความขัดแย้งของกลุ่ม จริยธรรมและมารยาทของกลุ่ม

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการแก้ปัญหาการทำงานเป็นทีมได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง

              ๒.๑.๓ มีความสามารถในการทำความเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นจริยธรรมในการทำงานเป็นทีม

              ๒.๑.๔ มีความสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.อำนาจ ยอดทอง

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          เพศและเพศภาวะ ทฤษฎีและขบวนการสตรีนิยม ทฤษฎีเควียร์ ทฤษฎีการพัฒนา สถานภาพและบทบาทของสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกในการพัฒนา การหนุนเสริมพลังสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกในบริบทวัฒนธรรมและศาสนา

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นท้าทายในการเสริมสร้างสถานภาพและบทบาทสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกเพื่อการพัฒนาได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการหนุนเสริมพลังสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกได้อย่างสอดคล้องกับปัจจัยทางวัฒนธรรมและศาสนา 

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎีการพัฒนา ทฤษฎีและขบวนการสตรีนิยม สถานภาพและบทบาทของสตรีในการพัฒนา การหนุนเสริมพลังสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกในบริบทวัฒนธรรมและศาสนาในระดับสากล

๒.๑.๒  มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานภาพและบทบาทสตรีในการพัฒนาและการหนุนเสริมพลังสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกในการพัฒนาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและศาสนา

๒.๑.๓  เข้าใจและตระหนักถึงประเด็นท้าทายในการเสริมสร้างสถานภาพและบทบาทสตรีในการพัฒนาได้อย่างสอดคล้องกับสังคม เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางการหนุนเสริมพลังสตรีและกลุ่มเพศทางเลือกได้อย่างสอดคล้องกับปัจจัยทางวัฒนธรรมและศาสนา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vatae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

                ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์การแพทย์ ความหมายและลักษณะของความยุ่งยากใจเชิงจริยธรรม วิธีการวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ ทฤษฎีจริยศาสตร์ทางการแพทย์ คำสอนทางจริยธรรมของศาสนาและความยุ่งยากใจเชิงจริยธรรมต่างๆ ในการแพทย์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และตระหนักถึงมุมมองอันหลากหลายต่อประเด็นด้านภาวะความยุ่งยากใจทางการแพทย์ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะได้อย่างถูกต้องตามหลักจริยศาสตร์การแพทย์

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์การแพทย์
  • ความหมายและลักษณะของความยุ่งยากใจเชิงจริยธรรม
  • วิธีการวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์
  • ทฤษฎีจริยศาสตร์การแพทย์
  • คำสอนเชิงจริยธรรมของศาสนา
  • ความยุ่งยากใจเชิงจริยธรรมต่างๆ ในการแพทย์

๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นความยุ่งยากใจเชิงจริยธรรมทางการแพทย์พื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมโนทัศน์ ทฤษฎีและหลักการเชิงจริยศาสตร์ และเหมาะสมกับบริบท

๒.๑.๓ มีความสามารถในการเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นความยุ่งยากใจเชิงจริยธรรมทางการแพทย์จากมุมมองอันหลากหลาย และเสนอมุมมองเชิงจริยธรรมของตนได้อย่างสอดคล้องกับหลักการและเหมาะสมกับบริบท

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

              ความหมายและองค์ประกอบของภาษา ความสัมพันธ์ระหว่างคำและความหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและความจริง การใช้เหตุผลและการคิดเชิงวิพากษ์ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม องค์ประกอบและประเภทของการสื่อสาร บทบาทของภาษาในการสื่อสาร อุปสรรคเชิงภาษาต่อการสื่อสาร การสื่อสารในสื่อสังคมและอินเทอร์เน็ต

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจความหมาย องค์ประกอบและความสำคัญของภาษา มีความสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างอย่างถูกต้องเหมาะสม มีความสามารถในการนำทักษะการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์มาช่วยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจความหมาย องค์ประกอบและความสำคัญของภาษากับการสื่อสารอย่างถูกต้องเหมาะสม

๒.๑.๒ มีความเข้าใจตรรกศาสตร์พื้นฐาน สามารถคิด วิเคราะห์และสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและมีเหตุผล

๒.๑.๓ มีคุณลักษณะของผู้มีจริยธรรมที่ต้องการลดความขัดแย้งในสังคม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

            มนุษย์กับการพัฒนาตนเองและการทำงาน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความมั่นใจในตนเอง ความรู้สึกมีเป้าหมายและแรงจูงใจ การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การตัดสินใจ การควบคุมตนเอง การจัดการเวลาและการจัดระเบียบ การสร้างสมดุลให้แก่ชีวิตและการทำงาน การดูแลสุขภาพและจัดการความเครียด

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

              นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถเลือกหลักการในการพัฒนาตนแลพัฒนางานได้เหมาะสมกับ ลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความมั่นใจในตนเอง
  • ความรู้สึกมีเป้าหมายและแรงจูงใจ
  • การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
  • การควบคุมตนเอง
  • การจัดการเวลาและการจัดระเบียบ
  • การสร้างสมดุลให้แก่ชีวิตและการทำงาน
  • การดูแลสุขภาพและจัดการความเครียด

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการเลือกหลักการในการพัฒนาตนเองได้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล

              ๒.๑.๓ มีความสามารถในการเสนอแนวทางการพัฒนาชีวิตและการทำงานให้แก่ตนเอง

              ๒.๑.๔ มีความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อ.ดร.ปิยณัฐ ประถมวงษ์

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

           ความหมายของเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี ปรัชญาเทคโนโลยีและสารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีดิจิทัล ตัวตน อัตลักษณ์และความเสี่ยงในโลกดิจิทัล จริยศาสตร์เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ ผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อวัฒนธรรมและศาสนา

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจมิติทางสังคมที่มนุษย์ดำรงอยู่อย่างแยกไม่ออกจากเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถวิเคราะห์และอภิปรายประเด็นพื้นฐานเกี่ยวกับจริยศาสตร์เทคโนโลยี สามารถสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นทางจริยธรรมที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีและสารสนเทศในแง่ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางมนุษย์และสังคม สรุปประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์เทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ความเสี่ยงในโลกดิจิทัล จริยศาสตร์เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ และผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อวัฒนธรรมและศาสนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๒.๑.๒ มีความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์จริงและข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล รวมถึงมีความเข้าใจประเด็นปัญหาและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ที่สัมพันธ์กับมิติทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติและระดับโลก

๒.๑.๓ มีทักษะและความสามารถในการสื่อสารที่เหมาะสม

๒.๑.๔ มีทักษะการทำงานเป็นทีมและมีสำนึกรับผิดชอบต่อสมาชิกกลุ่ม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          ความหมาย ขอบเขตและความสำคัญของมนุษยศาสตร์ มโนทัศน์และทฤษฎีทางปรัชญา จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ คุณค่าของศิลปะและวรรณกรรม ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มนุษยชาติและคำสอนทางศาสนา

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจความหมาย องค์ประกอบและความสำคัญของภาษา มีความสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างอย่างถูกต้องเหมาะสม มีความสามารถในการนำทักษะการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์มาช่วยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจความหมาย องค์ประกอบและความสำคัญของภาษากับการสื่อสารอย่างถูกต้องเหมาะสม

๒.๑.๒ มีความเข้าใจตรรกศาสตร์พื้นฐาน สามารถคิด วิเคราะห์และสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและมีเหตุผล

๒.๑.๓ มีคุณลักษณะของผู้มีจริยธรรมที่ต้องการลดความขัดแย้งในสังคม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

              ความหมายและขอบเขตของมนุษยสัมพันธ์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความมั่นใจในตนเอง การคิดเชิงบวกและการรับมือความเครียด ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้อื่น การทำงานเป็นทีม ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม จริยธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

              นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความหมายของมนุษยสัมพันธ์ ประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาตนเองให้มีความมั่นใจ การคิดเชิงบวก การรับมือกับความเครียด การสื่อสาร รู้จักผู้อื่น ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสัมพันธ์ที่ดีกับสังคม

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
  • การคิดเชิงบวก
  • การรับมือกับความเครียด

              ๒.๑.๒ มีความสามารถประยุกต์มนุษยสัมพันธ์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความมั่นใจ การสื่อสารระหว่างบุคคล และแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและผู้อื่น

              ๒.๑.๓ มีความสามารถเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นจริยธรรมในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

              ๒.๑.๔ มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          ความหมายและประเภทต่างๆ ของพระอารามหลวง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมและศาสนาของพระอารามหลวง ศิลปกรรมในพระอารามหลวง พระอารามหลวงที่สำคัญต่าง ๆ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญและประเภทต่างๆ ของพระอารามหลวงหรือวัดหลวง อีกทั้งสามารถแสวงหาความรู้ในพระอารามหลวงและนำเสนอโดยการใช้รูปแบบเทคนิควิธีการนำเสนอใหม่ๆจากเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้เพื่อการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเกิดการสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ชุมชนและประเทศได้

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมาย ความสำคัญและประเภทต่าง ๆ ของพระอารามหลวงในประเทศไทย
  • เห็นถึงคุณค่าของการได้เรียนรู้พระอารามหลวงที่มีต่อชีวิตคนไทย
  • อิทธิพลของศิลปกรรมในพระอารามหลวงที่มีต่อสังคมไทย
  • การเรียนรู้อันเกิดจากการเข้าไปในพระอารามหลวง
  • องค์ความรู้ใหม่เพื่อการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเกิดการสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ชุมชนและประเทศ

                 ๒.๑.๒ มีความสามารถประยุกต์ความรู้จากการเข้าไปเรียนรู้ในพระอารามหลวง

                ๒.๑.๓ มีความสามารถในการนำเสนอ อธิบายและตระหนักถึงการเข้าถึงการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาโดยการใช้รูปแบบเทคนิควิธีการนำเสนอจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.บุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

           ความหมายของวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อความเชื่อและพฤติกรรมมนุษย์ วัฒนธรรมท้องถิ่นด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาโรค ประโยชน์และข้อพึงระวังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรักษาโรคตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

           นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อความเชื่อและพฤติกรรมมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพและการรักษาโรค รวมถึงประโยชน์และข้อพึงระวังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรักษาโรคตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น      

วัตถุประสงค์รายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อความเชื่อและพฤติกรรมมนุษย์

๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นเรื่องความแตกต่างของวัฒนธรรมและการดูแลสุขภาพ อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อความเชื่อและพฤติกรรมมนุษย์ วัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ ด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาโรค

๒.๑.๓ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประโยชน์และข้อพึงระวังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรักษาโรคตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.บุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

          ความหมายของวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อความเชื่อ พฤติกรรมมนุษย์ และการแพทย์ ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและการรักษาโรค รวมถึงประเพณีทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

         นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อความเชื่อ พฤติกรรมมนุษย์ และการแพทย์ ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและการแพทย์ รวมถึงประเพณีทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์รายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรม ที่มีต่อความเชื่อ พฤติกรรมมนุษย์ และการแพทย์ ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้น

๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและการแพทย์ได้

๒.๑.๓ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประประเพณีทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อ.ดร.ปิยณัฐ ประถมวงษ์

Curriculum Vatae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          ความหมายและองค์ประกอบของวัฒนธรรม การกล่อมเกลาทางสังคม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนากับวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมสมัยนิยม วัฒนธรรมอินเตอร์เน็ต และการเปรียบเทียบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจความหมายของวัฒนธรรม สามารถเปรียบเทียบให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประยุกต์และแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและมุ่งส่งเสริมให้ผู้อื่นตระหนักถึงการยอมรับความหลาก หลายทางวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถ ดังนี้

๒.๑.๑ มีความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศาสนากับวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับบริบท

๒.๑.๒ เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่การเคารพอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้อื่น

๒.๑.๓ มีทักษะและความสามารถในการสื่อสารที่เหมาะสม

๒.๑.๔ มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสมาชิกกลุ่ม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา

Curriculum Vatae

คำอธิบายรายวิชา

              แนวคิดและทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ ความหมายและขอบเขตของวาทศาสตร์ ความสำคัญของวาทศาสตร์ต่อภาวะผู้นำ ความมีเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความน่าจูงใจ เป้าหมาย และกาลเทศะในการสื่อสารด้านวัจนและอวัจนภาษาของผู้นำ และวิเคราะห์ตัวอย่างด้านวาทศาสตร์ของผู้นำ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

              นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจสามารถประยุกต์ใช้หลักการเชิงวาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่าง ด้านวาทศาสตร์ของผู้นำ รวมถึงการเสนอแนะในด้านการพัฒนาและปรับปรุงระดับบุคคล องค์กรและสังคม

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ
  • ความหมายและขอบเขตของวาทศาสตร์
  • ความสำคัญของวาทศาสตร์ต่อภาวะผู้นำ
  • ความมีเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความน่าจูงใจ เป้าหมาย และกาลเทศะในการสื่อสารด้านวัจนและอวัจนภาษาของผู้นำ
  • ตัวอย่างด้านวาทศาสตร์ของผู้นำ

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการวิเคราะห์หลักการและตัวอย่างด้านวาทศาสตร์ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำ

๒.๑.๓ มีความสามารถในการเสนอแนะด้านการพัฒนาและปรับปรุงรวมถึงประยุกต์หลักภาวะผู้นำ อย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงจริยธรรม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.อำนาจ ยอดทอง

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

              บทบาทของศาสนาในการรักษาโรค ทัศนะของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามเกี่ยวกับสุขภาพ ชีวิต โรคภัย ความเจ็บป่วยและความตาย คำสอนและการปฏิบัติทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ การรับมือความเจ็บป่วย การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วยและการเตรียมรับความตาย

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและคำสอนในศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามไปใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับชีวิต สุขภาพ ความเจ็บป่วย และความตาย หลักคำสอนและการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ การรับมือความเจ็บป่วย การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วยและการเตรียมรับความตายได้อย่างถูกต้องตามบริบทของศาสนาและชุมชน โดยคำนึงถึงจริยธรรมและตอบสนองต่อประเด็นทางสังคม

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • บทบาทของศาสนาในการรักษาโรค
  • ทัศนะของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามเกี่ยวกับสุขภาพ ชีวิต โรคภัย ความเจ็บป่วยและความตาย
  • คำสอนและการปฏิบัติทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ การรับมือความเจ็บป่วย การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วยและการเตรียมรับความตาย

๒.๑.๒ ระบุ วิพากษ์ และประเมินความสมเหตุสมผลของการอ้างเหตุผลได้

๒.๑.๓ เรียนรู้กลยุทธ์และทักษะของสาขาวิชาและนำมาปรับใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่

๒.๑.๔ ประพฤติตนตามหน้าที่ต่อผู้อื่น กฎหมาย กฎระเบียบ และคุณค่า โดยไม่ต้องมีใครบังคับ

๒.๑.๕ ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันหลากหลายเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและเป้าหมาย เช่น การแบ่งปันข้อมูลความรู้ การแสดงความเห็น การสาธิตหรือร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

๒.๑.๖ สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในกลุ่มหรือทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาที่กำหนด

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.บุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

           วิธีการสมัยใหม่ในการศึกษาศาสนา บทบาทของศาสนาในชีวิตและสังคม คําสอนพื้นฐานของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เปรียบเทียบทัศนะของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามใน

เรื่องโลกและจักรวาล ธรรมชาติและชะตากรรมของมนุษย์ ความสุข ความทุกข์และชีวิตหลังความตาย

              

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

           หลักวาทศิลป์พื้นฐาน ความหมายและความสำคัญของพิธีกร คุณสมบัติและบุคลิกภาพพื้นฐานของพิธีกร  บทบาทหน้าที่ของพิธีกร การใช้หลักวาทศิลป์สำหรับพิธีกร การเขียนบทและการเตรียมข้อมูลสำหรับพิธีกร มารยาทและจริยธรรมสำหรับพิธีกร

      วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • หลัก วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบพื้นฐานของวาทศิลป์
  • ความหมาย ความสำคัญ บทบาทหน้าที่ของผู้ดำเนินรายการและพิธีกร
  • คุณสมบัติและบุคลิกภาพพื้นฐานของพิธีกร
  • บทบาทหน้าที่ของพิธีกรกับงานพิธีต่างๆ
  • หลักวาทศิลป์ (น้ำเสียง ภาษา ท่วงทีลีลา ฯลฯ)
  • มารยาทและจริยธรรมสำหรับพิธีกร

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม และความสามารถในการปรับตัวในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แตกต่างกัน

              ๒.๑.๓ มีความสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อการสื่อสารและนำเสนอแนวคิดผ่านการพูดในฐานะพิธีกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

              ๒.๑.๔ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ อธิบายและตระหนักถึงมารยาทและจริยธรรมในการทำหน้าที่เป็นพิธีกร

         

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.วุฒินันท์ กันทะเตียน

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

              หลักวาทศิลป์พื้นฐาน ความหมายและความสำคัญของพิธีกร คุณสมบัติและบุคลิกภาพพื้นฐานของพิธีกร  บทบาทหน้าที่ของพิธีกร การใช้หลักวาทศิลป์สำหรับพิธีกร การเขียนบทและการเตรียมข้อมูลสำหรับพิธีกร มารยาทและจริยธรรมสำหรับพิธีกร

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

           หลักวาทศิลป์พื้นฐาน ความหมายและความสำคัญของพิธีกร คุณสมบัติและบุคลิกภาพพื้นฐานของพิธีกร  บทบาทหน้าที่ของพิธีกร การใช้หลักวาทศิลป์สำหรับพิธีกร การเขียนบทและการเตรียมข้อมูลสำหรับพิธีกร มารยาทและจริยธรรมสำหรับพิธีกร

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • หลัก วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบพื้นฐานของวาทศิลป์
  • ความหมาย ความสำคัญ บทบาทหน้าที่ของผู้ดำเนินรายการและพิธีกร
  • คุณสมบัติและบุคลิกภาพพื้นฐานของพิธีกร
  • บทบาทหน้าที่ของพิธีกรกับงานพิธีต่างๆ
  • หลักวาทศิลป์ (น้ำเสียง ภาษา ท่วงทีลีลา ฯลฯ)
  • มารยาทและจริยธรรมสำหรับพิธีกร

              ๒.๑.๒ มีความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม และความสามารถในการปรับตัวในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แตกต่างกัน

              ๒.๑.๓ มีความสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อการสื่อสารและนำเสนอแนวคิดผ่านการพูดในฐานะพิธีกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

              ๒.๑.๔ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ อธิบายและตระหนักถึงมารยาทและจริยธรรมในการทำหน้าที่เป็นพิธีกร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.วุฒินันท์ กันทะเตียน

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

            ความหมาย ความสำคัญและประเภทต่างๆ ของวิจิตรศิลป์ คุณค่าของศิลปะและอิทธิพลที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ปรัชญาศิลปะ/ปรัชญาความงาม เกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ วิจักษ์ผลงานศิลปะต่างๆ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยอาศัยเกณฑ์ทางสุนทรียศาสตร์เป็นกรอบการวิจักษ์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

            นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญและประเภทต่างๆ ของวิจิตรศิลป์ คุณค่าของศิลปะและอิทธิพลที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ปรัชญาศิลปะ/ปรัชญาความงาม เกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ วิจักษ์ผลงานศิลปะต่างๆ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยอาศัยเกณฑ์ทางสุนทรียศาสตร์เป็นกรอบการวิจักษ์

วัตถุประสงค์รายวิชา

              รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

  ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความหมาย ความสำคัญและประเภทต่าง ๆ ของวิจิตรศิลป์
  • คุณค่าของศิลปะที่มีต่อชีวิตมนุษย์
  • อิทธิพลของศิลปะที่มีต่อชีวิตมนุษย์
  • ปรัชญาศิลปะ/ปรัชญาความงาม
  • เกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์

               ๒.๑.๒ มีความสามารถประยุกต์ความรู้วิจักษ์ผลงานศิลปะตามเกณฑ์สุนทรียศาสตร์

              ๒.๑.๓ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ อธิบายและตระหนักถึงจริยธรรมในการวิจักษ์ผลงานศิลปะต่าง ๆ

วีดีทัศน์แนะนำรายวิชา สมมน 177 ศิลปวิจักษ์ SHHU 177 Art Appreciation (ทดสอบ) (For test)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผศ.ดร.อำนาจ ยอดทอง

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)

          ความรักตนเองและความรักผู้อื่นตามมุมมองทางปรัชญา ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม วิชาชีพและความรักในเพื่อนมนุษย์ และโครงงานจิตอาสา

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับความรักตนเองและความรักผู้อื่นตามมุมมองทางปรัชญาและศาสนาไปใช้วิเคราะห์ประเด็นความรักที่มีอยู่ในสังคมและในวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึงจริยธรรม บริบทของวิชาชีพ สังคม ศาสนา และชุมชน

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

          รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถดังนี้

๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง

  • ความรักตนเอง (อัตตนิยม) และความรักคนอื่น (ปรัตถนิยม) ในมุมมองทางปรัชญา หลักศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม
  • วิชาชีพและความรักในเพื่อนมนุษย์
  • โครงงานจิตอาสาเพื่อคนอื่นหรือสังคม

๒.๑.๒ ประเมินความสมเหตุสมผลของการอ้างเหตุผลได้

๒.๑.๓ เรียนรู้กลยุทธ์และทักษะของสาขาวิชาและนำมาปรับใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่

๒.๑.๔ ประพฤติตนตามหน้าที่ต่อผู้อื่น กฎหมาย กฎระเบียบ และคุณค่า โดยไม่ต้องมีใครบังคับ

๒.๑.๕ ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันหลากหลายเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและเป้าหมาย เช่น การแบ่งปันข้อมูลความรู้ การแสดงความเห็น การสาธิตหรือร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

๒.๑.๖ สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในกลุ่มหรือทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเวลาที่กำหนด

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  ผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา

           ความหมายของการทำสมาธิ จุดประสงค์ วิธีการ ขั้นตอน จุดเริ่มต้นของการทำสมาธิ ลักษณะของการบริกรรมและการทำสมาธิ ประโยชน์ของสมาธิ ลักษณะอาการต่อต้านสมาธิ และการนำสมาธิไปใช้ในชีวิตประจำวัน สมาธิกับการเรียนและการงาน ลักษณะ ขั้นตอน คุณสมบัติ ประโยชน์ของฌานและญาณ สิ่งที่ควรรู้เรื่องวิปัสสนา ความแตกต่างระหว่างสมถะกับวิปัสสนา แผนผังสมถะกับวิปัสสนา ชาวโลกกับวิปัสสนา

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

        ๑. ๑ เพื่อให้นักศึกษารู้จักหลักการของสมาธิ ฌาน ญาณและวิปัสสนา

        ๑. ๒ เพื่อให้นักศึกษาฝึกสมาธิเบื้องต้นเป็น นำหลักการสมาธิไปปฏิบัติเพื่อฝึกสติให้มากขึ้นได้

        ๑.๓ เพื่อให้นักศึกษานำหลักการสมาธิ ฌาน ญาณและวิปัสสนาไปแนะนำได้

        ๑.๔ เพื่อให้นักศึกษานำหลักการของการฝึกสมาธิไปปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับคนอื่นได้

วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course objectives)

            รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้:-

              ๒.๑.๑ อธิบายทฤษฎีในการพัฒนาสมาธิ ญาณและปัญญาระดับต่างๆ อย่างละเอียดจนสามารถฝึกปฏิบัติ

                       เพื่อควบคุมสติได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง

              ๒.๑.๒ สามารถวางแผนแนะนำผู้อื่นให้รู้จักพัฒนาสมาธิ ฌาน ญาณและปัญญาได้

            ๒.๑.๓ สามารถเอาความรู้เรื่องสมาธิมาพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้

Responsible Lecturer  Asst Prof Dr Pathompong Bodhiprasiddhinand

Curriculum Vitae

Course Description 

          Exploring aspects of Buddhist teachings in its relevance to modern life in both breadth and width focusing on both specific and general topics which are Buddhist cosmology, Buddhism and science, the Wheel of life, the foundation of Buddhist ethics: the Middle Way, Kamma and Rebirths, Meditation: theories and practices, Buddhism and secular life, Buddhism and wealth, Buddhism and economics, Buddhism and democracy, Buddhist leadership, Buddhism and management, social philosophy in Buddhism, Buddhism and conflict management

Course Goals

          Training students to understand aspects of the Buddhist core teaching as a set of guiding principles for life, making them thereby  able to apply them for self-development successfully and synthesizing them to solve many problems, either personal or social, whenever possible for themselves, others, communities and society at large with skillfulness to work in group for their community in volunteer spirit

          (ไทย) ฝึกนักศึกษาให้เข้าใจแง่มุมต่างๆ ของแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เพื่อพัฒนาใช้ในชีวิตของตนให้ประสบความสำเร็จได้ และนอกจากนั้น ยังสังเคราะห์ไปใช้แก้ปัญหาได้จำนวนมาก ทั้งปัญหาส่วนตัว ทั้งปัญหาสังคมเพื่อตนเอง เพื่อคนอื่น เพื่อชุมชนและสังคมโดยรวม พร้อมทั้งมีทักษะในการทำงานกลุ่มเพื่อชุมชนด้วยจิตอาสาด้วย

Course objectives

By the end of the course, students are able to:-

           2.1.1 Know in depth and width the core aspects of Buddhist Philosophy 

           2.1.2 Understand how Buddhism is relevant to modern life and modern science

           2.1.3 Apply the relevant Buddhist teachings such as meditation to improve their quality of life successfully

           2.1.4 Interract with good manners with peoples in such a multi-cultural society based on Buddhist ethics

Course Coordinator Lect Dr Piyanat Prathomwong

Curriculum Vitae

Course Goals

  1. Aims of the Course

           Students have an understanding of the social dimension in which human beings are interwoven with digital technology. They have an ability to analyze and discuss basic issues on technology ethics, and are capable to communicate in order to create awareness on ethical issues in digital technologies.

 2.1 Course Objectives

          After successful completion of this course, students will

2.1.1 have an understanding on technology and information in human and social dimensions, 

and be able to summarize, correctly and properly, a brief history of technology, the relationship between human being and technology, risks in the digital world, ethics of technology and artificial intelligence, and impacts of digital technology on culture and religion;

           2.1.2 be able to synthesize information from events and multiple sources relevant to ethical issues in technological development correctly and logically, and also have an understanding of problems and challenges on ethics of technology and artificial intelligence related to social, political and economic dimension both in global and national scales;

           2.1.3 have a good communication skill;

           2.1.4 have a collaboration skill and responsibility to team members.

Responsible faculty member Course Director

Assoc Prof Dr Pagorn Singsuriya

Curriculum Vitae

Course descriptions

              Meaning and scope of human relations; self-esteem and self-confidence; positive thinking and coping with stress; understanding of individual differences; interpersonal communication; provision of guidance for others; teamwork; cross-cultural relationship; ethics in interpersonal and group relationship   

              (ไทย) ความหมายและขอบเขตของมนุษยสัมพันธ์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความมั่นใจในตนเอง การคิดเชิงบวกและการรับมือความเครียด ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้อื่น การทำงานเป็นทีม ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม จริยธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม

Goals

              Students have knowledge, understanding, and abilities to explore and develop oneself, others, interpersonal and group relationship. Students are able to work with other persons and collaborate in teamwork on the basis of respect and cultural awareness. 

Objectives

            After successful completion of this course, students will

  2.1.1 Have knowledge and understanding on

  • Meaning and scope of human relations;
  • Self-esteem and self-confidence;
  • Positive thinking and coping with stress;
  • Understanding of individual differences;
  • Interpersonal communication;
  • Provision of guidance for others;
  • Teamwork;
  • Cross-cultural relationship;
  • Ethics in interpersonal and group relationship;

              2.1.2 Be able to explore and develop oneself and relationship with others by using principles of human relations;

              2.1.3 Be able to display ethical behavior in interpersonal and group relationship

              2.1.4 Be able to effective and successfully work as a team.           

Responsible faculty member Course Director

Assoc Prof Dr Pagorn Singsuriya

Curriculum Vitae

Course Description      

           Meanings and scope of philosophy; basic logic and critical thinking; philosophical concepts in the daily life; truth, reality, knowledge, ethics, justice, free will and beauty 

          (ไทย)ความหมายและขอบเขตของปรัชญา ตรรกศาสตร์พื้นฐานและการคิดเชิงวิพากษ์ มโนทัศน์เชิงปรัชญาในชีวิตประจำวัน ความจริง ความเป็นจริง ความรู้ จริยธรรม ความยุติธรรม เจตจำนงเสรี และความงาม

Course Goals

  1. Aims of the Course

          Students have a basic understanding of philosophy and attain a skill of critical thinking. They would be able to apply a logical reasoning to analyze events and situations in the daily life related to the concepts of truth, knowledge, ethics, justice and beauty. They are able to communicate affectively and exhibit characteristics of socially responsible person.

Course Objectives

          After successful completion of this course, students will

  2.1.1 have a basic understanding of philosophy correctly according to the academic principles,

and be able to summarize the content of branches in philosophy, including metaphysics, epistemology, ethics, aesthetics and logic;

           2.1.2 be able to synthesize information from events in the daily life and multiple sources relevant to truth, knowledge, ethics, justice and beauty correctly and logically;

           2.1.3 have an understanding of basic logic and critical thinking, and be able to think, analyze and communicate effectively and logically;

           2.1.4 have characteristics of ethical person, and be able to collaborate effectively and responsibly with others.

Responsible faculty member Course Director

Assoc Prof Dr Pagorn Singsuriya

Curriculum Vitae

Course descriptions              

              Meaning and scope of professional ethics; meanings of ethics and code of ethics; meaning and components of profession; moral philosophical concepts and theories in professional ethics; ethics and code of ethics related to students; and religious doctrines related to working in professional contexts

            (ไทย)ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์วิชาชีพ ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ ความหมายและองค์ประกอบของวิชาชีพ มโนทัศน์และทฤษฎีจริยปรัชญาในจริยธรรมวิชาชีพ จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา และคำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในบริบทวิชาชีพ

Course Goals

              Students have knowledge, understanding, and abilities to analyze and realize about diverse perspectives on basic professional ethical issues. Students are able to give suggestions based on ethical principles and professional code of ethics.

Course Objectives

            After successful completion of this course, students will

  2.1.1 Have knowledge and understanding on

  • Meaning and scope of professional ethics;
  • Meanings of ethics and code of ethics;
  • Meaning and components of profession;
  • Responsibilities of professional association;
  • Moral philosophical concepts and theories in professional ethics;
  • Ethics and code of ethics related to students;
  • Religious doctrines related to working in professional contexts;

              2.1.2 Be able to analyze basic professional ethical principles correctly according to ethical concepts, theories and code of ethics and suitably to contexts;

              2.1.3 Be able to understand and realize about diverse perspectives on professional ethical issues, and also recommend own professional ethical perspectives based on ethical principles and responding to contexts;

              2.1.4 Be able to effective and successfully work as a team.

Responsible faculty member Course Director

Assoc Prof Dr Pagorn Singsuriya

Curriculum Vitae

Course descriptions             

              Meaning and scope of professional ethics; meanings of ethics and code of ethics; meaning and components of profession; responsibilities of professional association; moral philosophical concepts and theories in professional ethics; laws, ethics and code of ethics related to students; and religious doctrines related to working in professional contexts; teamwork principles to maintain professionalism

             (ไทย)ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์วิชาชีพ ความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ ความหมายและองค์ประกอบของวิชาชีพ ความรับผิดชอบของสมาคมวิชาชีพ มโนทัศน์และทฤษฎีจริยปรัชญาในจริยธรรมวิชาชีพ กฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา และคำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในวิชาชีพประเด็นจริยธรรมวิชาชีพ และหลักการทำงานร่วมกันเพื่อธำรงความเป็นวิชาชีพ

Course Goals

              Students have knowledge and understanding, and abilities to analyze and realize about diverse perspectives on basic professional ethical issues. Students are able to give suggestions based on ethical principles and professional code of ethics and work effectively as a team.

Objectives

          After successful completion of this course, students will

  2.1.1 Have knowledge and understanding on

  • Meaning and scope of professional ethics;
  • Meanings of ethics and code of ethics;
  • Meaning and components of profession;
  • Responsibilities of professional association;
  • Moral philosophical concepts and theories in professional ethics;
  • Laws, ethics and code of ethics related to students;
  • Religious doctrines related to working in professional contexts;
  • Teamwork principles to maintain professionalism

              2.1.2 Be able to analyze basic professional ethical principles correctly according to ethical concepts, theories and code of ethics and suitably to contexts;

              2.1.3 Be able to understand and realize about diverse perspectives on professional ethical issues, and also recommend own professional ethical perspectives based on ethical principles and responding to contexts;

              2.1.4 Be able to effective and successfully work as a team.                       

Responsible faculty member Course Director

Assoc Prof Dr Pagorn Singsuriya

Curriculum Vitae

Course descriptions            

             Concepts and theories of leadership; meanings and scope of rhetoric; the importance of  rhetoric for leadership; logos, ethos, pathos, telos, and Kairos in leaders’ verbal and non-verbal communications; analyzing examples of leaders’ rhetoric

            (ไทย)แนวคิดและทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ ความหมายและขอบเขตของวาทศาสตร์ ความสำคัญของวาทศาสตร์ต่อภาวะผู้นำ ความมีเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความน่าจูงใจ เป้าหมาย และกาลเทศะในการสื่อสารด้านวัจนและอวัจนภาษาของผู้นำ และวิเคราะห์ตัวอย่างด้านวาทศาสตร์ของผู้นำ

Course Goals

              Students have knowledge and understanding, and an ability to apply rhetorical principles for leadership to analyze examples of leaders’ rhetoric; and also an ability to give suggestions for improvement in individual, organizational and social levels.

Course Objectives

          After successful completion of this course, students will

  2.1.1 have knowledge and understanding on

  • Concepts and theories of leadership;
  • meaning and scope of rhetoric;
  • importance of rhetoric for leadership;
  • logos, ethos, pathos, telos and kairos in leaders’ verbal and non-verbal communication;
  • examples of leaders’ rhetoric;

              2.1.2 be able to analyze examples of leaders’ rhetoric

              2.1.3 be able to give suggestions on development and improvement, and apply rhetorical principles in a responsible and ethical way;

              2.1.4 be able to communicate to improve individuals, organizations and society in a way that is rational, credible, persuasive and suitable for audiences.

Course Director

Lect Dr Mattia Salvini

Curriculum Vitae

Course descriptions              

              Fundamental grammatical categories of Sanskrit; Sanskrit literary register; verses from representative Sanskrit literature; common wisdom shared by different religious and philosophical groups in the cultures of Asia

            (ไทย)ปทารถะเชิงไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาสันสกฤต ลักษณะภาษาสันสกฤตเชิงวรรณกรรม; ข้อความจากวรรณกรรมตัวแทนในภาษาสันสกฤต ภูมิปัญญาที่กลุ่มเชิงศาสนาและปรัชญาในวัฒนธรรมเอเชียมีร่วมกัน

Course Goals

           Students have knowledge and understanding of basic Sanskrit. Students are able to analyze common wisdom and shared culture through representative Sanskrit literature, and communicate their ideas effectively.

Course Objectives

           After successful completion of this course, students will

  2.1.1 Have knowledge and understanding on

  • Fundamental grammatical categories of Sanskrit;
  • Sanskrit literary register;
  • Verses from representative Sanskrit literature;
  • Common wisdom shared by different religious and philosophical groups in Asian culture;

              2.1.2 Be able to analyze verses with fundamental grammatical categories of Sanskrit and recognize Sanskrit literary register;

              2.1.3 Be able to analyze common wisdom shared by different religious and philosophical groups in Asian culture;

            2.1.4 Be able to effectively express and communicate ideas

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  : อ.ดร.ภัทรจิต จุมพล กอซโซลี

Curriculum Vitae

คำอธิบายรายวิชา  (Course Description)      

แนวคิด ทฤษฎีการจัดทำยุทธศาสตร์ ตั้งแต่องค์ประกอบ กระบวนการ การกำหนดจุดหมาย แนวทาง และกลไกขับเคลื่อน ศึกษาประเด็นการพัฒนาระดับประเทศและระดับโลกตลอดจนแนวโน้มการพัฒนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ นโยบายสาธารณะกับการพัฒนาประเทศ อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ประเทศไทย ๔.๐ และแผนพัฒนาในด้านอื่น ๆ ตลอดจนกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนพัฒนาเหล่านั้น รวมถึงวิเคราะห์ความเชื่อมโยงประเด็นการพัฒนา แนวโน้มและผลกระทบต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ อาทิ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

      Concepts, theories related to the strategy formulation; analyzing, elements, processes, ends, ways, drive mechanisms; studying the national and global developments  and  their  trends;  the relationship between strategies and the national development; public policies and the national development, such as the National Economic and Social Development Plans, government policies, the strategy of Thailand 4.0, etc.;  the driving mechanism;  linkages of development  issues  and factors; trends and impacts on socio-economic, environment and well-beings of Thai people

จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาประเทศ ความสัมพันธ์ของ

ยุทธศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงยุทธศาสตร์กับประเด็นการพัฒนาด้านต่างๆ รวมทั้งเชื่อมโยงมิติการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถประยุกต์บทเรียนที่ได้รับกับประเด็นที่นักศึกษาสนใจ

 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

๒.๑  วัตถุประสงค์ของรายวิชา (Course Objectives)

         เพื่อให้นักศึกษา

  • มีความรู้ความสามารถ เข้าใจและวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาประเทศ

ตลอดจนเข้าใจบริบทการพัฒนาประเทศ

๒)  มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงประเด็นการพัฒนาต่างๆ ได้

๓)  สามารถประยุกต์แนวคิด/ทฤษฎีทางการวางแผน การกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศเพื่อทำ

         รายงานส่วนบุคคล และงานกลุ่มได้อย่างเหมาะสม

๔)  สามารถนำเสนอความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิชานี้ ทั้งในรูปแบบปากเปล่า การเขียนรายงาน และการ

     ใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๕)  ทำโครงงานเป็นกลุ่มได้

สำนักงานงานบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02-8002840-78